งานฝีมือ อุตสาหกรรม และการจ้างงานของรัฐบาล ของ เศรษฐกิจจีนยุคราชวงศ์ฮั่น

การผลิตภาคเอกชนและการผูกขาดของรัฐบาล

รูปจำลองโรงโม่หินดินเผาขนาดเล็กจากสุสานราชวงศ์ฮั่น

เหล็กและเกลือ

ในยุคเริ่มต้นของราชวงศ์ฮั่น อุตสาหกรรมเกลือและเหล็กของประเทศจีนเป็นของเอกชนโดยจำนวนของพ่อค้าผู้มั่งคั่งและผู้ใต้บังคับบัญชาของกษัตริย์ระดับภูมิภาค กำไรของอุตสาหกรรมเหล่านี้เป็นคู่แข่งเงินทุนของราชสำนัก[58] นักอุตสาหกรรมเหล็กหรือเกลือที่ประสบความสำเร็จอาจจะจ้างงานชาวนาเกิน 1,000 คน เป็นสาเหตุให้สูญเสียรายได้จากภาษีการเกษตรอย่างรุนแรงของรัฐบาลกลาง[59] เพื่อที่จะจำกัดอำนาจของนักอุตสาหกรรม จักรพรรดิฮั่นอู่จึงแปรรูปอุตสาหกรรมเกลือและเหล็กให้เป็นกิจการของรัฐบาลโดยปี 117 ก่อนคริสตกาล[60]

รัฐบาลยังได้ริเริ่มการผูกขาดสุราในปี 98 ก่อนคริสตกาล อย่างไรก็ตาม การผูกขาดนี้ถูกยกเลิกในปี 81 ก่อนคริสตกาลในความพยายามลดการแทรกแซงของรัฐบาลในเศรษฐกิจภาคเอกชน[61]

พรรคปฏิรูป (Reformist Party) สนับสนุนให้เอกชนเป็นเจ้าของ ต่อต้านพรรคสมัยใหม่ ซึ่งครองอำนาจทางการเมืองในรัชสมัยของจักรพรรดิฮั่นอู่และต่อมาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ฮั่ว กวาง (เสียชีวิตปี 68 ก่อนคริสตกาล)[62] พรรคสมัยใหม่ (Modernist Party) โต้แย้งว่า การผูกขาดของรัฐสามารถจัดหาวัตถุดิบอันสมบูรณ์ สภาวะการทำงานที่ดี และเหล็กคุณภาพสูง พรรคปฏิรูปโต้แย้งว่าวัตถุที่ทำด้วยเหล็กที่รัฐเป็นเจ้าของผลิตขนาดใหญ่และการดำเนินการที่ไม่ได้ผลออกแบบเพื่อจัดการกับส่วนแบ่งค่อนข้างมากกว่าการใช้งานจริง มีคุณภาพด้อยกว่า และมีราคาแพงเกินไปสำหรับสามัญชนที่จะซื้อ[63] ในปี 44 ก่อนคริสตกาล พรรคปฏิรูปสามารถยกเลิกการผูกขาดทั้งเกลือและเหล็กได้ แต่การผูกขาดถูกนำกลับมาใช้อีกในปี 41 ก่อนคริสตกาล หลังจากการปิดอย่างกระทันหันซึ่งทำให้รัฐบาลสูญเสียรายได้อย่างมีนัยสำคัญและการหยุดชะงักของเศรษฐกิจภาคเอกชน[64]

หวัง หมั่งคงไว้ซึ่งการผูกขาดของรัฐบาลกลางเหล่านี้ เมื่อเข้าสู่ยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันตก การผูกถูกขาดยกเลิกอีกครั้ง อุตสาหกรรมถูกกำหนดโดยรัฐบาลปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้ประกอบการภาคเอกชน[65] จักรพรรดิฮั่นจาง (ครองราชย์ปี ค.ศ. 75 – 88) ฟื้นฟูการผูกขาดของรัฐบาลอย่างรวบรัดเกี่ยวกับเกลือและเหล็กจากปี ค.ศ. 85 – 88 แต่ยกเลิกการผูกขาดในปีสุดท้ายในรัชสมัยของพระองค์ หลังจากรัชสมัยจักรพรรดิฮั่นจาง ราชวงศ์ฮั่นไม่เคยแปรรูปอุตสาหกรรมเกลือและเหล็กกลับคืนเป็นกิจการของรัฐอีก[66]

รูปจำลองเตาหลอมโลหะดินเผาเคลือบ ยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก

เมล็ดธัญพืช

การค้าเมล็ดธัญพืชเป็นอุตสาหกรรมภาคเอกชนที่สามารถทำกำไรได้ในระหว่างช่วงต้นยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันตก แต่กระนั้นรัฐบาลของจักรพรรดิฮั่นอู่แทรกแซงการค้าเมล็ดธัญพืชเมื่อรัฐบาลจัดตั้งระบบการตลาดแบบเท่าเทียมกัน (ทฤษฎีมูลภัณฑ์กันชน Buffer stock scheme) ในปี 110 ก่อนคริสตกาล[67] รัฐบาลซื้อเมล็ดธัญพืชเมื่อมีสภาพอุดมสมบูรณ์และราคาถูก ส่งเมล็ดธัญพืชไปยังยุ้งฉางเพื่อเก็บรักษาหรือไปยังพื้นที่ที่เมล็ดธัญพืชขาดแคลน[68] ระบบนี้ถูกหมายมั่นให้กำจัดการเก็งกำไรเมล็ดธัญพืช สร้างราคามาตรฐานและเพิ่มรายได้ให้แก่รัฐบาล[68] ระบบนี้ถูกออกแบบโดยซาง หงหยาง ข้าราชการ (เสียชีวิตปี 80 ก่อนคริสตกาล) ผู้ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นพ่อค้า ซาง หงหยางถูกวิพากษ์วิจารณ์จากพ่อค้าในเรื่องการวางตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลในตลาดแผงลอย[69] ระบบอุปทานนี้ถูกทำให้ล้มเลิกในราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ถึงแม้ว่าระบบนี้ถูกฟื้นฟูอย่างรวบรัดโดยจักรพรรดิฮั่นหมิง (ครองราชย์ปี ค.ศ. 57 – 75) จักรพรรดิฮั่นหมิงทรงยกเลิกระบบนี้ในปี ค.ศ. 68 ด้วย เมื่อพระองค์ทรงเชื่อว่าโกดังเก็บเมล็ดธัญพืชของรัฐบาลขึ้นราคาและทำให้เจ้าของที่ดินผู้มั่งคั่งร่ำรวยมากขึ้น[70]

อีเบลย์ถกเถียงว่า ถึงแม้ว่านโยบายการคลังของจักรพรรดิฮั่นอู่ทั้งหมดถูกยกเลิกในระหว่างยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ความเสียหายของนโยบายต่อชนชั้นพ่อค้าและนโยบายเศรษฐกิจแบบปล่อยให้ทำไป (Laissez-faire) ของราชวงศ์ฮั่นตะวันออกอนุญาตให้เจ้าของที่ดินผู้มั่งคั่งครอบงำสังคม สร้างความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจของประเทศจีนจะยังคงเป็นฐานเกษตรกรรมอย่างแน่นหนาเป็นเวลาหลายศตวรรษ[39] รัฐบาลกลางของราชวงศ์ฮั่นตะวันออกสูญเสียแหล่งรายได้ที่สำคัญจากการยกเลิกอุตสาหกรรมเหล็กและเกลือ และซื้อดาบและโล่ให้กองทัพจากผู้ผลิตภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ความสูญเสียรายได้นี้ถูกชดเชยโดยจัดเก็บภาษีกับพ่อค้าที่สูงขึ้นเสมอ[71]

โรงงานของรัฐบาล

ด้านหลังของกระจกสำริดจากยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกที่ตกแต่งคล้ายหัวเสือในวงเปลือกหอย ปรากฏจารึกเวลาที่ผลิตบนกระจกปี ค.ศ. 174

โรงงานของรัฐบาลของราชวงศ์ฮั่นผลิตสินค้าทั่วไป สินค้าฟุ่มเฟือย และแม้แต่สินค้าประดับตกแต่งที่ใช้กับผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว เช่น รูปแกะสลักเคลือบดินเผาและชื่อสุสานประดับด้วยกำแพงของสุสานใต้ดิน[72] โรงงานของราชสำนักดำเนินการโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงบริหารดูแล (Minister Steward) ผู้ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่ควบคุมการคลังและการเงินส่วนพระองค์[73]

สำนักงานงานศิลปะและงานฝีมือ (The Office of Arts and Crafts) เป็นหน่วยงานในสังกัดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงบริหารดูแล มีหน้าที่ผลิตอาวุธ ภาชนะ กระจกสำริด เครื่องเรือ และสินค้าชนิดอื่น ๆ[73] สำนักงานช่างฝีมือ (The Office of Manufactures) เป็นหน่วยงานในสังกัดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงบริหารดูแลเช่นเดียวกัน ผลิตอาวุธ เครื่องใช้ในครัวและชุดเกราะ[73] สิ่งทอและเสื้อผ้าที่สวมใส่โดยจักรพรรดิและพระบรมวงศานุวงศ์ถูกผลิตในโรงทอผ้าแห่งตะวันตก (Weaving House of the West) และโรงทอผ้าแห่งตะวันออก (Weaving House of the East) ต่อมาถูกยกเลิกในปี 28 ก่อนคริสตกาล และโรงทอผ้าแห่งตะวันตกถูกเปลี่ยนชื่อเป็น โรงทอผ้า (Weaving House)[73]

โรงงานที่ตั้งอยู่ในผู้บังคับบัญชาทำด้วยผ้าไหมและผ้าปัก สินค้าฟุ่มเฟือยทำจากเงินและทองและอาวุธ โรงงานแห่งหนึ่งซึ่งตั้งในที่ที่ปัจจุบันคือมณฑลอันฮุยมีอู่ต่อเรือโดยที่เรือรบถูกสร้างขึ้น[74] ถึงแม้ว่ารัฐบาลใช้แรงงานทาสที่รัฐเป็นเจ้าของ แรงงานเกณฑ์และนักโทษในโรงงาน พวกเขายังได้ว่าจ้างช่างฝีมือทักษะสูงซึ่งได้รับค่าตอบแทนมาก[75]

งานไม้ที่ทาด้วยน้ำมันขัดเงาสมัยราชวงศ์ฮั่นถูกผลิตจากภาคเอกชนเช่นเดียวกับที่ผลิตในโรงงานของรัฐบาล[76] แรงงานจำนวนหลายร้อยคนสามารถถูกว่าจ้างให้ทำงานเกี่ยวกับสินค้าฟุ่มเฟือยชิ้นเดียว เช่น แก้วหรือผนังที่ทาด้วยน้ำมันขัดเงา[77] งานไม้ที่ทาด้วยน้ำมันขัดเงาบางชิ้นถูกเขียนสลักอย่างง่ายกับชื่อตระกูลของครอบครัวผู้ซึ่งเป็นเจ้าของ สินค้าชนิดอื่นถูกเขียนสลักกับชื่อของผู้ที่เป็นเจ้าของ ประเภทเฉพาะของเรือ ความจุของสินค้า วัน เดือน ปีที่แม่นยำของการผลิต (ตามบันทึกศักราชของจีนและปฏิทินจีน) ชื่อของหัวหน้าชั้นผู้ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการผลิตสินค้าและชื่อของคนงานผู้ที่ผลิตสินค้า[78] ยิ่งกว่านั้นอุปกรณ์ทำจากเหล็กบางชิ้นที่ทำขึ้นในช่วงของการผูกขาดก็ได้ประทับวันที่ที่พวกเขาผลิตและชื่อของโรงงาน[79] คาลิเปอร์สำริดจากราชวงศ์ซินใช้หน่วยวัดเป็นนาที มีคำจารึกกล่าวว่ามันถูก “ทำขึ้นเมื่อวันกุ๋ย โหย่ว เมื่อจันทร์ดับของเดือนแรกของปีแรกของระยะเวลาสือ เจียน กั้ว” คาลิเปอร์ระบุเวลาว่าผลิตเมื่อปี ค.ศ. 9[80] งานไม้ที่ทาด้วยน้ำมันขัดเงาสมัยราชวงศ์ฮั่นแสดงเครื่องหมายตราพระราชลัญจกรของจักรพรรดิถูกค้นพบในพื้นที่ห่างไกลจากภูมิภาคเมืองหลวงของราชวงศ์ฮั่นโดยนักโบราณคดีสมัยใหม่ ในสถานที่ เช่น เทศมณฑลชิงเจิ้น (ในมณฑลกุ้ยโจว) กรุงเปียงยาง (ในประเทศเกาหลีเหนือ) และนอยอุลา (ในประเทศมองโกเลีย)[81]

โครงการก่อสร้างสาธารณะ

สภาสถาปนิกได้รับมอบหมายจากรัฐบาลกลางให้กำกับควบคุมการก่อสร้างของราชสำนักและโครงการงานสาธารณะทั้งหมด รวมถึงการก่อสร้างพระราชวังและสุสาน[82]

รูปจำลองสุสานดินเผาสมัยราชวงศ์ฮั่น ประกอบด้วย ที่อยู่อาศัยอันหรูหรากับหอนาฬิกา เรือนเฝ้าประตู ห้องโถง ผนังภายนอก ชานบ้าน ระเบียง กระเบื้องมุงหลังคา และหน้าต่าง

ในระหว่างช่วงราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ชาวนาเกณฑ์ถูกจัดระเบียบเป็นคณะทำงานประกอบด้วยแรงงานทั้งหนึ่งแสนคน คนงานเกณฑ์ประมาณ 150,000 คน ทำงานเป็นระยะเวลาติดต่อกัน 30 วันในแต่ละทุก 5 ปี ทำงานเกี่ยวกับกำแพงป้องกันเมืองฉางอานอันแน่นหนา สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 190 ก่อนคริสตกาล[83] แรงงานเกณฑ์ถูกว่าจ้างให้ก่อสร้างและบำรุงรักษาเทวสถานที่อุทิศให้เทพเจ้าและวิญญาณบรรพบุรุษของจักรพรรดิ[84] แรงงานเกณฑ์บำรุงรักษาระบบคลองที่ใช้เพื่อขนส่งการเกษตรและชลประทานด้วยเช่นกัน[85] บางโครงการของการปรับปรุงคลองส่งน้ำขนาดใหญ่ของราชวงศ์ฮั่นรวมถึงซ่อมแซมระบบชลประทานตูเจียงเอี้ยนและคลองเจิ้งกัวถูกสร้างโดยรัฐยุคก่อนราชวงศ์ฉินและราชวงศ์ฉิน (ปี 221 -206 ก่อนคริสตกาล) ตามลำดับ[85]

จารึกหินที่ 19 ที่อยู่รอดมาได้เป็นอนุสรณ์ของการก่อสร้างถนนและสะพานแห่งใหม่โดยรัฐบาลของราชวงศ์ฮั่นตะวันออก[86] การขุดค้นของนักโบราณคดีที่เมืองฉางอานแสดงให้เห็นว่าสะพานไม้ถูกสร้างเหนือคูเมืองป้องกันและนำไปสู่เรือนเล็กข้างประตูสำหรับคนเฝ้าอาศัย[87] ถนนจำเป็นต้องซ่อมแซมเป็นระยะเช่นกัน ในปี ค.ศ. 63 เส้นทางนำจากภูเขาชิเหลียนผ่านทางเมืองหานซ่ง (ปัจจุบันอยู่ทิศตะวันตกของมณฑลซานซี) และไปทางเมืองหลวงลั่วหยางได้รับการซ่อมแซมที่สำคัญ[86] สำหรับโครงการนี้ สะพานขาหยั่ง 623 แห่ง สะพานใหญ่ 5 แห่ง ถนนสายใหม่ 107 กิโลเมตร (66 ไมล์) และสิ่งก่อสร้าง 64 แห่ง รวมถึงโรงเตี๊ยม ที่ทำการไปรษณีย์ และสถานีถ่ายทอดถูกสร้างขึ้น[86] ผู้ที่รับหน้าที่กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารยังได้สร้างสะพานด้วย ตัวอย่างเช่น ในระหว่างการรณรงค์ต่อต้านพวกซฺยงหนูในทะเลทรายออร์ดอสในปี 127 ก่อนคริสตกาล นายพลเว่ย ชิง (เสียชีวิตปี 106 ก่อนคริสตกาล) สร้างสะพานแห่งใหม่ข้ามแม่น้ำหวูเจี้ย (อดีตแม่น้ำสาขาของแม่น้ำเหลือง) ปัจจุบันอยู่ในเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน เขาใช้สะพานแห่งนี้เคลื่อนย้ายกองทัพและพัสดุสำหรับการถล่มพวกซฺยงหนู ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเทศมณฑลวูหยวน (五原县)[88] อีเบรย์ เขียนว่า[89]

มีหลายเหตุผลที่แน่นอนเพื่อการบำรุงรักษาถนน ระบบการเมืองแบบรวมศูนย์จะคงอยู่ได้ตราบเท่าที่รัฐบาลมีความสามารถจัดการหรือส่งเจ้าหน้าที่ กองทัพ หรือสารไปยังที่ต่าง ๆ ได้รวดเร็วตามที่ต้องการ ระบบของการขนส่งดังกล่าว ก่อตั้งขึ้นเมื่อ อำนวยความสะดวกทางการค้า ที่ระดับท้องถิ่นโครงการก่อสร้างถนนและสะพานดูเหมือนว่าได้ก่อให้เกิดประโยชน์ของบรรดาพ่อค้าเดินทางเช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่[89]